วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 3




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน  อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2558   ครั้งที่ 3



สิ่งที่ได้รับ
รูปแบบการจัดการศึกษา แบ่งออกเป็น 4 ประเภท
- การศึกษาปกติทั่วไป Regular Education
- การศึกษาพิเศษ Special Education
- การศึกษาแบบเรียนร่วม Integrated Education หรือ Mainstreaming
- การศึกษาแบบเรียนรวม Inclusive Education

การศึกษาแบบเรียนร่วม
  การเรียนร่วม หรือการจัดการศึกษาโดยรวม (Inclusive Education) เป็นแนวคิดในการจัดการศึกษาที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคน โดยไม่มีการแบ่งแยกว่าเด็กคนใดเป็นเด็กปกติ หรือเป็นเด็กที่มีความต้องการพิเศษเด็กทุกคนที่ผู้ปกครองพามาเข้าเรียน ทางโรงเรียนจะต้องรับเด็กและจะต้องจัดการศึกษาให้เขาอย่างเหมาะสม เพื่อส่งเสริมให้เด็กเหล่านี้ได้มีโอกาสเรียนรู้ตามรูปแบบที่เหมาะสม โดยคำนึงถึงความสามารถของบุคคลนั้น ให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมอย่างปกติสุข การจัดการเรียนร่วมระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ 

การศึกษาแบบเรียนร่วม มี 2 วิธี ดั้งนี้
 1. การเรียนร่วมบางเวลา Integrationเป็นการจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษเรียนในโรงเรียนปกติ โดยอาจจัดให้อยู่ในชั้นปกติในบางเวลา เช่น วิชาดนตรี พลศึกษา หรือร่วมกิจกรรม ลูกเสือ- เนตรนารี กีฬาสี เป็นต้น คาดหวังว่า เด็กที่มีความต้องการพิเศษจะมีโอกาสแสดงออก และมีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับเด็กปกติ และยังหมายถึงการจัดชั้นเรียนเฉพาะสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษในโรงเรียนปกติ เด็กที่รับบริการในลักษณะนี้มักเป็นเด็กที่มีความพิการระดับปานกลางถึงระดับมาก จึงไม่อาจเรียนร่วมเต็มเวลาได้ ต้องมีการจัดทำแผนการศึกษาพิเศษเฉพาะบุคคลให้กับเด็ก
2.การเรียนร่วมแบบเต็มเวลา Mainstreaming การจัดให้เด็กที่มีความต้องการพิเศษ ได้มีโอกาสได้เรียนชั้นเดียวกับเด็กปกติ ตลอดเวลาที่เด็กอยู่ในโรงเรียน เด็กปกติได้รับบริการการจัดกระบวนการเรียนรู้และบริการนอกห้องเรียนอย่างไร เด็กที่มีความต้องการพิเศษที่ได้รับบริการเช่นเดียวกันเป้าหมายสำคัญของการเรียนร่วมเต็มเวลา คือ เพื่อให้เด็กเข้าใจซึ่งกันและกัน ตอบสนองความต้องการซึ่งกันและกันและมีปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกันระหว่างเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับเด็กปกติ เด็กปกติจะยอมรับความหลากหลายของมนุษย์ เข้าใจว่าคนเราเกิดมาไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกอย่าง ท่ามกลางความแตกต่างกัน มนุษย์เราต้องการความรัก ความสนใจ ความเอาใจใส่เช่นเดียวกันทุกคน

การศึกษาแบบเรียนรวม 
   การศึกษาแบบเรียนรวม หมายถึง การรับเด็กเข้ารับการศึกษาโดยไม่แบ่งแยกความบกพร่องของเด็ก หรือคัดแยกเด็กที่ด้อยว่าเด็กส่วนใหญ่ออกจากชั้นเรียน แต่จะใช้การบริหารจัดการและวิธีการในการให้เด็กเกิดการเรียนรู้และพัฒนาการตามความต้องการ จำเป็นอย่างเหมาะสมเป็นรายบุคคล

ความหมายของการศึกษาแบบเรียนรวม
- เป็นการจัดการศึกษาที่จัดให้เด็กพิเศษเข้ามาเรียนรวมกับเด็กปกติ โดยรับเข้ามาเรียนรวมกัน
- เด็กพิเศษทุกคนสามารถเรียนรู้และพัฒนาได้ถ้าได้รับโอกาสในการเรียนรู้เหมาะสมกับความพิเศษของเขา
- การเรียนรวมเป็นแนวทางการศึกษาอย่างหนึ่งที่โรงเรียนจะต้องจัดการศึกษาให้กับเด็กทุกคนโดยไม่แบ่งแยก
เด็กจะเป็นฝ่ายเลือกโรงเรียนไม่ใช่โรงเรียนเลือกเด็ก

การประเมินพัฒนาการเด็ก
   การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาเด็กปฐมวัย เป็นกระบวนการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับพฤติกรรมและความสามารถของเด็กในด้านต่างๆ ทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพอย่างต่อเนื่อง แล้วนำมาเรียบเรียงอย่างเป็นระบบเพื่อใช้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจเกี่ยวกับเด็กหรือการจัดประสบการณ์ให้แก่เด็ก
   การประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้เป็นสิ่งที่ควรเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการจัดประสบการณ์ตามปกติในกิจวัตรประจำวัน ครูที่ประเมินอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบจะสามารถใช้หลักสูตรและจัดประสบการณ์ได้อย่างเหมาะสมกับวัย และความแตกต่างระหว่างบุคคลของเด็ก

หลักการประเมินพัฒนาการของเด็ก
   หลักการประเมินพัฒนาการของเด็กตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546 มีดังนี้
1. ประเมินพัฒนาการของเด็กครบทุกด้านและนำผลมาพัฒนาเด็ก
2. ประเมินเป็นรายบุคคลอย่างสม่ำเสมอต่อเนื่องตลอดปี
3. สภาพการประเมินควรมีลักษณะเช่นเดียวกับกิจกรรมประจำวัน
4. ประเมินอย่างเป็นระบบ มีการวางแผนเลือกใช้เครื่องมือ และจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน
5. ประเมินตามสภาพจริงด้วยวิธีการหลากหลายเหมาะกับเด็ก รวมทั้งใช้แหล่งข้อมูลหลายๆ ด้าน ไม่ควรใช้การทดสอบ

ความจำเป็นที่ต้องพัฒนาเด็กพิเศษในช่วงปฐมวัย

     เด็กพิเศษควรได้รับการศึกษาแบบเรียนรวมตั้งแต่มีอายุในช่วงปฐมวัยเนื่องจากเด็กในช่วงวัยนี้อยู่ในช่วงที่สมองมีการพัฒนาอย่างสูงสุดคือช่วงอายุ 0-7 ปี เซลล์สมองจะมีการพัฒนาอย่างเต็มที่พร้อมที่จะเรียนรู้เป็นช่วงเวลาที่เด็กมีกาพัฒนาทางการรับรู้เป็นช่วงเวลาที่เด็กมีการพัฒนาทางการรับรู้ ภาษา สังคม อารมณ์ และกล้ามเนื้ออย่างรวดเร็ว



  


ประเมินตนเอง
- วันนี้รู้สึกเพลียๆ มีคุยกับเพื่อนบ้าง แต่ก็ตั้งใจเรียนนะคะ และได้ตั้งใจทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้จนเสร็จค่ะ

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนๆต่างก็มีน้ำใจ ช่วยเพื่อนทำงาน ให้เพื่อนยืมดินสอ และตั้งใจเรียน

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์ชมเชยเพื่อนๆที่ทำสีผมดำ เเละก็มีการเอาสิ่งต่างๆมาทำให้นักศึกษาตั้งใจเรียน "ชอบค่ะเวลาอาจารย์ยิ้มน่ารักดี 555"




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น