วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 15




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที 21 เมษายน พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 15


ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ลองให้เขียนแผน IEP เป็นกลุ่ม เพื่อที่จะได้รู้ว่าวิธีการเขียนแผนเป็นอย่างไร และการเขียนแผน IEP  เป็นอย่างไร 

แผน IEP 
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กแต่ล่ะคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเข
- ต้องการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก (สัมภาษณ์ก็ได้)
- ระบุว่าเด็กมีความทรงจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุปัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมิน

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาศพัฒนาศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางการเลือกสื่อการสอน และวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน






ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
การรรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและเวลาสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น

จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจนแม้จะกว้าง
- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์

**********************************************************************
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน



  • ใคร                                               อรุณ
  • อะไร                                             กระโดดขาเดียวได้
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน                            กิจกรรมกลางแจ้ง
  • ดีขนาดไหน                                   กระโดดได้ขาล่ะ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที





  • ใคร                                            ธนกรณ์
  • อะไร                                          นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน                          ระหว่างครูเล่านิทาน
  • ดีขนาดไหน                                ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน






การใช้แผน 
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนให้เหมาะสมกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนล่ะครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน **


การจัดทำแผน IEP




ทำกิจกรรม เขียนแผน IEP






ประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งเรียนเพราะต้องเขียนแผน IEP และตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์ให้ทำค่ะ

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนตั้งใจเขียนแผน IEP ก็มีบ้างที่ไม่เข้าใจ แต่เพื่อนในกลุ่มก็ช่วยกันทำ

ประเมินอาจารย์ 
- อาจารย์สอนดีค่ะ และบางครั้งที่พวกหนูไม่เข้าใจ อาจารย์ก็จะมาอธิบายให้ฟังเพิ่มเติมทีล่ะกลุ่ม










ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น