วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 16


บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน พฤหัสบดี ที 30 เมษายน พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 16

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์สอบร้องเพลง  และให้นักศึกษาจับฉลากว่าจะได้ร้องเพลงอะไร และเพลงที่หนูได้ คือ 

เพลง จ้ำจี้ดอกไม้ 


" ปิดคอร์ส วิชาการจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย "








ประเมินตนเอง
- วันนี้ตื่นเต้นมากๆค่ะ เพราะลุ้นว่าเลขที่อาจารย์จับขึ้นมาจะเป็นของใคร แต่พอเจอเลขที่ตัวเอง ^_^ รู้สึกโล่งค่ะ วันนี้ก็ตั้งใจร้องเพลงที่ตัวเองได้มากๆค่ะ อาจจะมีเพี้ยนบ้าง แต่หนูตังใจฝึกร้องเพลงมากเลยนะคะ น้องฟังทั้งวันทั้งคืน ฮ่าๆ

ประเมินเพื่อน 
- เพื่อนๆทุกคนตั้งใจร้องเพลงมากๆค่ะ วันนี้ก็เป็นอีกวันที่สนุกสนาน หัวเราะ  แต่เพื่อนทุกๆคนก็ตั้งใจทำเต็มที่ มีความพยายามค่ะ

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์เป็นคนที่สอนดี ใจดี เรียนด้วยแล้วหนูมีความสุข ไม่เครียด อาจารย์เป็นคนที่เข้าใจ และให้โอกาสพวกหนูได้แก้ตัวเพื่อที่จะทำคะแนนให้ดีๆ ขอบคุณนะคะที่ทุกๆวันที่ได้เรียนกับอาจารย์แล้วอาจารย์ทำให้พวกหนูมีความสุข ตั้งแต่หนูได้เรียนกับอาจารย์มา ไม่มีครั้งไหนเลยที่คิดว่าไม่อยากมาเรียน วันอังคารจะเป็นวันที่อยากมาเรียนที่สุดค่ะ  รักอาจารย์นะคะ 




วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 15




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที 21 เมษายน พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 15


ความรู้ที่ได้รับ
วันนี้อาจารย์ลองให้เขียนแผน IEP เป็นกลุ่ม เพื่อที่จะได้รู้ว่าวิธีการเขียนแผนเป็นอย่างไร และการเขียนแผน IEP  เป็นอย่างไร 

แผน IEP 
- แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
- เพื่อให้เด็กแต่ล่ะคนได้รับการสอนและการช่วยเหลือฟื้นฟูให้เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเข
- ต้องการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
- โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก

การเขียนแผน IEP
- คัดแยกเด็กพิเศษ
- ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
- ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
-แล้วจึงเริ่มเขียนแผน IEP

IEP ประกอบด้วย
- ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก (สัมภาษณ์ก็ได้)
- ระบุว่าเด็กมีความทรงจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
- การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุปัน
- เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
- ระบุ วัน เดือน ปี ที่เริ่มทำการสอน และคาดคะเนการสิ้นสุดของแผน
- วิธีการประเมิน

ประโยชน์ต่อเด็ก
- ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
- ได้มีโอกาศพัฒนาศักยภาพของตน
- ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
- ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ

ประโยชน์ต่อครู
- เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
- เป็นแนวทางการเลือกสื่อการสอน และวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
- ปรับเปลี่ยนได้เมื่อความต้องการเปลี่ยนแปลงไป
- เป็นแนวทางในการประเมินผลการเรียนและการเขียนรายงานพัฒนาการความก้าวหน้าของเด็ก
- ตรวจสอบและประเมินได้เป็นระยะ

ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
- ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้พัฒนาความสามารถได้สูงสุดตามศักยภาพ
- ทราบร่วมกับครูว่าจะฝึกลูกของตนอย่างไร
- เกิดความร่วมมือในการพัฒนาเด็ก มีการสื่อสารกันอย่างต่อเนื่อง และใกล้ชิดกันระหว่างบ้านกับโรงเรียน






ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
การรรวบรวมข้อมูล
- รายงานทางการแพทย์
- รายงานการประเมินด้านต่างๆ
- บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง

การจัดทำแผน
- ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
- กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและเวลาสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
- จะต้องได้รับการรับรองแผนการศึกษาเฉพาะบุคคลจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

การกำหนดจุดมุ่งหมาย
- ระยะยาว
- ระยะสั้น

จุดมุ่งหมายระยะยาว
กำหนดให้ชัดเจนแม้จะกว้าง
- น้องนุ่นช่วยเหลือตนเองได้
- น้องดาวร่วมมือกับผู้อื่นได้ดีขึ้น
- น้องริวเข้ากับเพื่อนคนอื่นๆได้

จุดมุ่งหมายระยะสั้น
- ตั้งให้อยู่ภายใต้จุดมุ่งหมายหลัก
- เป็นพฤติกรรมที่เด็กสามารถทำได้ในระยะ 2-3 วัน หรือ 2-3 สัปดาห์

**********************************************************************
- จะสอนใคร
- พฤติกรรมอะไร
- เมื่อไหร่ ที่ไหน (ที่พฤติกรรมนั้นจะเกิด)
- พฤติกรรมนั้นต้องดีขนาดไหน



  • ใคร                                               อรุณ
  • อะไร                                             กระโดดขาเดียวได้
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน                            กิจกรรมกลางแจ้ง
  • ดีขนาดไหน                                   กระโดดได้ขาล่ะ 5 ครั้ง ในเวลา 30 วินาที





  • ใคร                                            ธนกรณ์
  • อะไร                                          นั่งเงียบๆโดยไม่พูดคุย
  • เมื่อไหร่ / ที่ไหน                          ระหว่างครูเล่านิทาน
  • ดีขนาดไหน                                ช่วงเวลาการเล่านิทาน 10 - 15 นาที เป็นเวลา 5 วันติดต่อกัน






การใช้แผน 
- เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
- นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
- แยกย่อยขั้นตอนให้เหมาะสมกับเด็ก
- จัดเตรียมสื่อและจัดกิจกรรมการเรียนการสอน

ต้องมีการสังเกตเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและความสามารถโดยคำนึงถึง
1. ขั้นตอนพัฒนาการของเด็กปกติ
2. ตัวชี้วัดพื้นฐานที่เกี่ยวกับปัญหาของพัฒนาการเด็ก
3. อิทธิพลของสิ่งแวดล้อมของเด็กและผู้ใหญ่ที่มีผลต่อการแสดงออกของเด็ก

การประเมินผล
- โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนล่ะครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
- ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล

** การประเมินในแต่ละทักษะหรือแต่ละกิจกรรม  อาจใช้วิธีวัดและกำหนดเกณฑ์แตกต่างกัน **


การจัดทำแผน IEP




ทำกิจกรรม เขียนแผน IEP






ประเมินตนเอง
- วันนี้ตั้งเรียนเพราะต้องเขียนแผน IEP และตั้งใจทำงานตามที่อาจารย์ให้ทำค่ะ

ประเมินเพื่อน
- เพื่อนตั้งใจเขียนแผน IEP ก็มีบ้างที่ไม่เข้าใจ แต่เพื่อนในกลุ่มก็ช่วยกันทำ

ประเมินอาจารย์ 
- อาจารย์สอนดีค่ะ และบางครั้งที่พวกหนูไม่เข้าใจ อาจารย์ก็จะมาอธิบายให้ฟังเพิ่มเติมทีล่ะกลุ่ม










วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 14




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที 14 เมษายน พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 14




วันนี้เป็นวันสงกรานต์ "ไม่มีการเรียนการสอนค่ะ"






วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 13




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที 7 เมษายน พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 13


สิ่งที่ได้รับ

ทักษะพื้นฐานทางการเรียน
เป้าหมาย
-การช่วยให้เด็กแต่่ะคนเรียนรู้ได้
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึกว่า "ฉันทำได้"
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
-อยากสำรวจ อยากทดลอง

ช่วงความสนใจ
-ต้องมีการเรียนรู้อื่นๆ
-จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร


การเลียนแบบ
การทำตามคำสั่งคำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่


การรับรู้การเคลื่อนไหว
-ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น

-ตอบสนองได้เหมาะสม





ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ



ความจำ
-จากการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
-แกงจืดที่เรากินใส่อะไรบ้าง
-จำตัวะครจากนิทาน
-จำชื่อครู เพื่อน
-เล่นเกมทายของที่หายไป





ทักษะคณฺิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์



**อาจารย์แจกเพงให้ไปหัดร้องเพราะจะมีสอบ




อาจารย์เปิด VDO เด็กพิเศษให้ดู น้องเป็นคนที่เก่งมากๆ น้องไม่มีแขนแต่สามารถทำกิจกรรมทุกอย่างได้เหมือนเพื่อนคนปกติได้ทุกอย่าง กิจวัตรประจำวันน้องก็ทำได้อย่างคล่อง เช่น กวาดห้อง ทานข้าว ปั่นจักรยานไปโรงเรียน



ประเมินตนเอง
-วันนี้เข้าเรียนปกติ ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจารย์สอน มีความสุขในการเรียนค่ะ

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนบางคนก็ไปเรียน แะบางคนก็ได้กับบ้านแล้ว เรียนกันเงียบๆเหงาๆมากค่ะ

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์สอนอย่างดีค่ะ มีการยกตัวอย่าง อธิบาย มีวีดีโอมาให้ดูค่ะ








วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 12



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 12


"วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน"

อาจารย์ให้ไปช่วยกีฬาสี












    

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 11




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน


วัน อังคาร ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 11


"วันนี้สอบค่ะ "

ไม่มีการเรียนการสอน


วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 10




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 10



ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
- การกินอยู่
- การเข้าห้องน้ำ
- การแต่งตัว
- กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน
** ให้เด็กทานข้าวได้ด้วยตนเอง , อยากไปฉี่ก็ไป  ให้ทุกคนมีอิสระ  ครูพยามยามใจเย็น มองข้อดีของเด็ก อย่ามองข้อเสีย

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้เด็กกระทั่งสิ่งที่เด็กสามมารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “หนูทำช้า หนูยังทำไม่ได้ (ห้ามพูด)

จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม





ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)



ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
- เข้าไปในห้องส้วม
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะ หรือ อุจจาระ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
- ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
- กดชักโครก หรือ ตักน้ำราด
- ดึงกางเกงขึ้น
- ล้างมือ
- เช็ดมือ
- เดินออกจากห้องส้วม





การวางแผนทีล่ะขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด


**ครูต้องย่อยงานให้เป็น #บอกขั้นตอน


สรุป
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ล่ะอย่างเป็นขั้นเล็กๆนำไปสู่ผลสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



กิจกรรม










ประเมินตนเอง

-วันนี้ตั้งใจเรียนค่ะ อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำ ก่อนที่จะเรียนอาจารย์มีคำถามมาให้ตอบ "ไร่สตอเบอร์รี่"

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนตั้งใจตอบคำถาม และทำกิจกรรมมากๆค่ะ มีเสียงหัวเราะมากมาย

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์มีเนื้อหาในการสอนที่เข้าใจ และให้นักศึกษาทำกิจกรรมเพื่อเรียนรู้อารมณ์ของแต่ล่ะสี