วันอังคารที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 12



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 12


"วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน"

อาจารย์ให้ไปช่วยกีฬาสี












    

วันอังคารที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 11




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน


วัน อังคาร ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 11


"วันนี้สอบค่ะ "

ไม่มีการเรียนการสอน


วันอังคารที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 10




บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 10



ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะของเด็กพิเศษ

ทักษะการช่วยเหลือตนเอง

เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
- การกินอยู่
- การเข้าห้องน้ำ
- การแต่งตัว
- กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
- เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
- อยากทำงานตามความสามารถ
- เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน
** ให้เด็กทานข้าวได้ด้วยตนเอง , อยากไปฉี่ก็ไป  ให้ทุกคนมีอิสระ  ครูพยามยามใจเย็น มองข้อดีของเด็ก อย่ามองข้อเสีย

ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
- การได้ทำด้วยตนเอง
- เชื่อมั่นในตนเอง
- เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี

หัดให้เด็กทำเอง
- ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
- ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
- ทำให้เด็กกระทั่งสิ่งที่เด็กสามมารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
- “หนูทำช้า หนูยังทำไม่ได้ (ห้ามพูด)

จะช่วยเมื่อไหร่
- เด็กก็มีบางวันที่ไม่อยากทำอะไร , หงุดหงิด , เบื่อ , ไม่ค่อยสบาย
- หลายครั้งเด็กจะขอความช่วยเหลือในสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว
- เด็กรู้สึกว่ายังมีผู้ใหญ่ที่พึ่งได้ แต่ต้องได้รับความช่วยเหลือเฉพาะสิ่งที่เด็กต้องการ
- มักช่วยเด็กในช่วงกิจกรรม





ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 2-3 ปี)




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 3-4 ปี)




ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 4-5 ปี)



ทักษะการช่วยเหลือตนเอง (อายุ 5-6 ปี)



ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน

การเข้าส้วม
- เข้าไปในห้องส้วม
- ดึงกางเกงลงมา
- ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
- ปัสสาวะ หรือ อุจจาระ
- ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
- ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
- กดชักโครก หรือ ตักน้ำราด
- ดึงกางเกงขึ้น
- ล้างมือ
- เช็ดมือ
- เดินออกจากห้องส้วม





การวางแผนทีล่ะขั้น
-แยกกิจกรรมเป็นขั้นย่อยๆให้มากที่สุด


**ครูต้องย่อยงานให้เป็น #บอกขั้นตอน


สรุป
- ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
- ย่อยงานแต่ล่ะอย่างเป็นขั้นเล็กๆนำไปสู่ผลสำเร็จทั้งมวล
- ช่วยให้เด็กมีความมั่นใจในตนเอง
- เด็กพึ่งตนเองได้ รู้สึกเป็นอิสระ



กิจกรรม










ประเมินตนเอง

-วันนี้ตั้งใจเรียนค่ะ อาจารย์มีกิจกรรมให้ทำ ก่อนที่จะเรียนอาจารย์มีคำถามมาให้ตอบ "ไร่สตอเบอร์รี่"

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนตั้งใจตอบคำถาม และทำกิจกรรมมากๆค่ะ มีเสียงหัวเราะมากมาย

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์มีเนื้อหาในการสอนที่เข้าใจ และให้นักศึกษาทำกิจกรรมเพื่อเรียนรู้อารมณ์ของแต่ล่ะสี



วันอังคารที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 9



บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 9



ความรู้ที่ได้รับ
การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

ทักษะภาษา

การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม
-บอกเล่าเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไหม
-ใช้คำศัพท์ของตัวเองกับเด็กคนอื่นไหม
**เด็กๆจะชอบใช้คำศัพท์แปลกๆที่ใช้กับเพื่อน

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น   เช่น จิ้งจก เป็น จก
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง
**มันเป็นช่วงเวลาของเด็กที่พูดตกหล่นแต่ก็พูดได้ปกติ

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำ หรือ การออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า พูดช้าๆ “ “ตามสบาย” “คิดก่อนพูด
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน
**อย่าไปจี้เขา เพราะ เขาจะเป็นปมด้อย

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา  เช่น การฟัง การพูด การอ่าน การเขียน
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด
**เด็กพิเศษรับรู้การแสดงออก





พฤติกรรมการตอบสนองการแสดงออกทางภาษา




พฤติกรรมการเริ่มการแสดงออกของเด็ก



ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโต้ตอบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว
-ให้เด็กทำกิจกรรมกลุ่ม เด็กพิเศษได้มีแบบอย่างจากเพื่อน
-กระตุ้นให้เด็กบอกความต้องการของตน (ครูไม่คาดการณ์ล่วงหน้า)
-เน้นวิธีการสื่อความหมายมากกว่าพูด
-ใช้คำถามปลายเปิด
-เด็กพิเศษรับรู้มากเท่าไหร่ยิ่งพูดได้มากเท่านั้น
-ร่วมกิจกรรมกับเด็ก

การสอนตามเหตุการณ์ (Incidental Teaching)







**เมื่อเด็กพิเศษใส่ที่คาดผมไม่ได้ ครูควรเข้าไปถามว่า หนูใส่ที่คาดผมใช่ไหมคะ (เด็กไม่ตอบ)ครูควรย้ำ ที่คาดผม และให้เด็กพูดตาม (ถ้าไม่พูด) ครูก็ควรจับมือใส่

**น้องสวมเสื้อกันเปื้อนไม่ได้สักที ครูเข้าไปถามหนูทำอะไรคะ (เด็กไม่ตอบ) เดี๋ยวคุณครูช่วยใส่ผ้ากันเปื้อนนะคะ 


กิจกรรมที่ทำในห้องเรียน




ประเมินตนเอง
-ตั้งใจเรียน วันนี้เข้าห้องเรียนเร็วค่ะ

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนตั้งใจฟังอาจารย์สอน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์สอนอย่างตั้งใจ  อาจารย์ยกตัวอย่างให้นักศึกษาเข้าใจมากยิ่งขึ้น





วันอังคารที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558

อนุทิน ครั้งที่ 8





บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดประสบการณ์การศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน
วัน อังคาร ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2558 ครั้งที่ 8


ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
กิจกรรมการเล่น
- การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
- เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
- ในช่วงแรกๆเด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง
*ทักษะสังคมสภาพแวดล้อมไม่ค่อยส่งผลต่อเด็ก ขึ้นอยู่กับตัวบุคคล การมองคนอื่นเล่น การเลียนแบบ(เด็กพิเศษเล่น) 
*เด็กออทิสติกถ้าเจอสิ่งกีดขวางตรงทางเดิน เด็กจะเดินชน ผลัก ออกจากทางเดิน 

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
- วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
- คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
- ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
- เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน "ครู" ให้เด็กพิเศษ
*ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวได้โดย ให้เด็กปกติช่วยสอนเด็กพิเศษ มีสื่ออุปกรณ์ให้เล่นด้วยกัน เล่นเป็นกลุ่ม 2-4 คน ต้องมีกฎเกณฑ์ในการเล่น 

ครูควรปฎิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
- อยู่ใกล้ๆและเฝ้ามองอย่างสนใจ
- ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมามองครู
- ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
- เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาในการเล่น
- ใช้ความคิดเห็นที่เป็นแรงเสริม

การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
- ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน เช่น การพูดนำของครู

ช่วยเด็กทุคนให้รู้กฎเกณฑ์
- ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
- การให้โอกาสเด็ก
- เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
- ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง

Post
ครูสามารถส่งเสริมทักษะทางสังคมในห้องเรียนรวมได้อย่างไร?

วันนี้มีเพลง 6 เพลง ผู้แต่งโดยอาจารย์ ศรีนวล รัตนสุวรรณ   เรียบเรียง อาจารย์ ตฤณ แจ่มถิน


เพลง ดวงอาทิตย์
ยามเช้าตรู่อาทิตย์ทอแสงทอง
เป็นประกายเรืองรอง ผ่องนภา
ส่องสว่างไปทั่วแหล่งหล้า บ่งเวลาว่ากลางวัน



เพลง ดวงจันทร์
ดวงจันทร์ทอแสงนวลใย
สุกใสอยู่ในท้องฟ้า
เราเห็นดวงจันทรา
แสงพราวตาเวลาค่ำคืน



เพลงดอกมะลิ
ดอกมะลิ กรีบขาวพราวตา
เก็บเอามาร้อยเป็นมาลัย
บูชาพระทั้งใช้ทำยาก็ได้
ลอยในน้ำ อบขนมหอมชื่นใจ



เพลง ดอกกุหลาบ
กุหลาบงาม ก้านหนามแหลมคม
จะเด็ดดมระวังกายา
งามสดสีเป็นดอกไม้มีค่า
เก็บเอามาประดับไว้ในแจกัน



เพลง นกเขาขัน
ฟังซิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
ฟังซิฟังนกเขาขันมันขยันขันคู
จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู จุ๊กกรู 



เพลง รำวงดอกมะลิ
รำวง รำวง ร่วมใจ
หอมดอกมะลิที่ร้อยมาลัย
กลิ่นหอมตามลมไปไกล
หอมกลิ่นชื่นใจ จริงเอย




ผลงานวาดเส้นและจุดตามเสียงเพลง

ผลงานของคู่หนู





ผลงานของเพื่อนๆ 




ประเมินตนเอง
- ตั้งใจเรียน ตั้งใจตอบคำถามที่อาจารย์เอมาให้ทาย 555 ช่วยกันทำกิจกรรมกับเพื่อน

ประเมินเพื่อน
- เพื่อๆต่างสนุกสนานในการตอบคำถามที่อาจารย์เอามาให้เล่น และเพื่อนๆทำกิจกรรมอย่างตั้งใจ

ประเมินอาจารย์
- อาจารย์มีกิจกรรมต่างๆที่ทำให้นักศึกษาได้เข้าใจมากยิ่งขึ้น และมีคำถามสนุกๆมาให้ทำด้วย